เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด

เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด

เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด เกิดจากการรวมตัวกันของผู้หญิงในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศในปี 2540  โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชน คือสมาคมเพื่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้หญิง(ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด) เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของผู้หญิงในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับครัวเรือน เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัดจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542

เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัดเป็นหนึ่งของขบวนการผู้หญิงรากหญ้าที่เติบโตจากการพึ่งตนเอง ด้วยเงินออมทรัพย์วันละบาทจากสมาชิกที่เชื่อมั่นในการพึ่งตัวเอง ตั้งแต่การศึกษาของลูกหลาน  การกู้ยืมเพื่ออาชีพและแก้ปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะหนี้นอกระบบบ จนพัฒนาไปสู่การจัดการสวัสดิการของสมาชิก  ลดการพึ่งพารัฐ และธนาคาร  กองทุนมีการดำเนินการมากว่า10ปี  ด้วยความเชื่อมั่น ผ่านการทดสอบความอดทนและท้าทายยืนหยัดที่มั่นคง  เป็นการเติบโตของขบวนการผู้หญิงรากหญ้าที่ก่อตัวอย่างเรียบง่าย เพื่อแก้ปัญหาของ ผู้หญิงชุมชนแออัดที่เป็นสมาชิก    ปัจจุบันสมาคมเพื่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้หญิงเป็นที่ปรึกษา

การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายผู้หญิงอื่นๆ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสิทธิผู้หญิงได้สนับสนุนให้เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด  สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้หญิงอื่นๆ ทั้งในเมืองและในชนบททั้งในเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทาง วิธีการแก้ปัญหา ตลอดจนเป็นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และสร้างเครือข่ายของผู้หญิงให้กว้างขวางขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เช่น

  • การระดมเครื่องอุปโภค – บริโภค ช่วยเหลือ ผู้หญิงและเด็กชาวติมอร์ตะวันออก ในช่วงที่เกิดสงคราม จำนวน 2 ครั้ง
  • การเข้าไปเยี่ยมผู้หญิงในค่ายอพยพ ชาวกระเหรี่ยงที่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน
  • การระดม เครื่อง อุปโภค ช่วยเหลือเด็ก และผู้หญิงในชุมชนในเมือง และในชนบทประเทศกัมพูชา
  • การช่วยเหลือครอบครัวผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ช่วยเหลือเครื่องอุปโภค – บริโภค ชาวชุมชนที่ประสบน้ำท่วม ที่ จังหวัด ปัตตานี
  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนากระบวนการออมทรัพย์กับแม่หญิงลาวในนครเวียงจันทร์
  • การไปช่วยเหลือ และเยี่ยมผู้หญิงและเด็กในหมู่บ้าน กะเหรี่ยง ชายแดนไทย-พม่า

เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด มีการขับเคลื่อน 2 บทบาท คือ บทบาทต่อสังคมเพื่อขยายพื้นที่การยอมรับที่ผู้หญิงจะมีบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อชุมชนและสังคม และบทบาทต่อชุมชนฐานรากเพื่อขยายจำนวนสมาชิกของเครือข่าย   เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการ คือ การเพิ่มศักยภาพของผู้หญิงที่เป็นคนจนในชุมชนเมือง การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นระบบคุ้มครองทางสังคมให้เป็นธรรม   เท่าเทียมและทั่วถึง   การยกระดับการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ    สังคม  การเมือง กฎหมาย คือ พันธกิจของเครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัดในทศวรรษที่ผ่านมาและต้องเพิ่มความเข้มข้นและก้าวย่างอย่างมั่นคงในทศวรรษหน้า

เครือข่ายมอบเงินพินัยกรรมให้กับทายาทสมาชิกที่เสียชีวิต

ภาระกิจของเครือข่ายกับการแก้ปัญหาความยากจน

เครือข่ายผู้หญิงกับภาระกิจสวัสดิการเพื่อสมาชิก

การบูรณาการกองทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของผู้หญิงและครอบครัว

กองทุนต่างๆ ของเครือข่าย

กองทุนการศึกษา

กองทุนการศึกษา : ก้าวแรกของสวัสดิการเพื่อผู้หญิงและครอบครัว:สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก – เยาวชน ในชุมชนแออัดอย่างเท่าเทียม

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศในปี 2540  สมาคมฯร่วมมือกับผู้หญิงกว่า 30 ชุมชนสำรวจปัญหาครัวเรือน พบว่า เด็ก – เยาวชน ในชุมชนมีแนวโน้มต้องหยุดเรียน เพราะ พ่อ แม่ผู้ปกครองตกงานและรายได้ไม่เพียงในช่วงนั้นไม่มีการเรียนฟรีและกองทุนกู้ยืมเรียนเหมือนปัจจุบัน

รัฐบาลโดยโครงการ การลงทุนทางสังคม(SIF)  ได้สนับสนุนงบประมาณ ในลักษณะกองทุนหมุนเวียน

เพื่อช่วยเหลือการศึกษาแก่เด็ก-เยาวชนผ่านมาทางกลุ่มของผู้หญิงกลุ่มนี้โดยมีสมาคมฯเช็นต์สัญญาเป็นองค์กรพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและพัฒนาความเข้มแข็ง กองทุนการศึกษา เป็นการพัฒนาคุณภาพของเยาวชนในชุมชนโดยส่งเสริมให้เด็กเยาวชนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกับคนอื่นในสังคม  เครือข่ายผู้หญิงบริหารจัดการกองทุนนี้อย่างเข้มแข็งโปร่งใสเงินที่รัฐสนับสนุนจึงยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

ออมทรัพย์วันละบาท

ออมทรัพย์วันละบาท : กองทุนสวัสดิการของผู้หญิงเพื่อการพึ่งตนเอง

เพื่อให้กองทุนหมุนเวียนทางการศึกษาดำเนินการต่อยอดกระบวนการพัฒนาด้านอื่น ๆต่อไป สมาคมเพื่อการพัฒนามนุษยชนและสิทธิผู้หญิง(ในขณะนั้นใช้ชื่อว่าศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสิทธิผู้หญิง)ได้ชักชวนแกนนำผู้หญิงส่วนหนึ่ง  จัดตั้งออมทรัพย์ วันละ1บาทเพื่อการพึ่งตนเองขึ้นในปี 2543เป้าหมายสำคัญ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของผู้หญิงและครอบครัวการจัดสวัสดิการแก่ผู้หญิงและครอบครัวและโดยเริ่มจากผู้หญิง จำนวน 13 คน เป็นกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ จุดประกายความหวังให้เป็นจริงขึ้นมา   คนจนที่สุดก็สามารถเข้าร่วมได้  ออมทรัพย์วันละ 1 บาท เป็นการฝึกความอดทน   สัจจะ  ฝึกการพึ่งตนเอง  ทำจากเล็กไปสู่ใหญ่ จากนั้นได้มีการขยายแนวร่วมของผู้หญิงออกไปสู่ชุมชนต่างๆ เครือข่ายผู้หญิงได้บริหารจัดการกองทุนด้วยตนเองหลังจากสมาคมฯลดบทบาทลงเป็นเพียงที่ปรึกษา

รูปแบบการจัดสวัสดิการของผู้หญิงแก่ครอบครัวสมาชิก

การบริหารงานเครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด

รูปแบบการบริหารงานเครือข่ายผู้หญิงใช้โครงสร้างที่ผู้นำมาจากการเลือกของสมาชิกโดยเข้ามาทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม

กองทุนช่วยเหลือผู้หญิงยามวิกฤติ

กองทุนช่วยเหลือผู้หญิงยามวิกฤติ

ปัญหาความรุนแรงที่ผู้หญิงประสบนอกเหนือจากความยากจนแล้ว ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวยังเป็นปัญหาสำคัญของผู้หญิงในชุมชน  ดังนั้นสมาคมเพื่อการพัฒนามนุษยชนและสิทธิผู้หญิง จึงได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวนหนึ่งเป็นกองทุนเริ่มต้นในการช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้  จนกว่าจะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยเรียกกองทุนนี้ว่า “กองทุนช่วยเหลือผู้หญิงยามวิกฤติ” ปัจจุบันเครือข่ายผู้หญิงสามารถบริหารจัดการกองทุนนี้โดยช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาวิกฤติในชีวิตไปจำนวนหลายราย

พัฒนาการของกองทุนวันละบาท
สู่การยืนได้ด้วยตัวเอง : เครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด

การจัดสรรเงินกองทุนสวัสดิการ