โครงการส่งเสริมสิทธิเด็กต่างด้าวเพื่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

สถานการณ์การเด็กต่างด้าวในประเทศไทยจากรายงานในประเทศพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กๆ ที่เกิดในประเทศไทยและมีแม่เป็นชาวต่างด้าวที่มาจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา มักจะไม่ได้รับจดทะเบียนการเกิด ขณะที่บางครั้งยังถูกเลือกปฏิบัติ ไม่สนใจ หรือ แม้กระทั่งเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหน้าที่บางคน     สูติบัตรเป็นเอกสารทางกฎหมายชิ้นแรกที่ยืนยันตัวตนของเด็ก การไม่มีสูติบัตรทำให้เด็กๆ ขาดสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลฟรีและบริการของรัฐอื่นๆ และเด็กที่ติดตามพ่อแม่มาทำงานโดยพ่อแม่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานที่ถูกต้องและบางส่วนลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเด็กเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงบริการต่างๆของรัฐด้วย เช่นกันและเพิ่มความเสี่ยงในการถูกค้ามนุษย์หรือถูกแสวงประโยชน์อื่นๆ

กฎหมายไทยกำหนดไว้ชัดเจนว่าเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนการเกิดและได้รับสูติบัตร แม้ว่าพ่อแม่ของเขาจะไม่ใช่คนไทยหรือไม่มีสถานะทางกฎหมายที่ถูกต้องก็ตาม แต่ยังมีเด็กจำนวนมากที่พ่อแม่ไม่ได้ไปแจ้งเกิดเพื่อรับสูติบัตร และถูกเลือกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ทำให้ลูกของแรงงานต่างด้าวที่เกิดในไทยมีอัตราการจดทะเบียนเกิดต่ำกว่าเด็กอื่นๆ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมสิทธิของเด็ก ต่างด้าวทั้งที่เกิดในประเทศไทยและที่ติดตามพ่อแม่มาทำงานให้สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียม

2.เพื่อเสริมสร้างความตระหนักของแรงงานต่างด้าวในการแจ้งจดทะเบียนการเกิดของบุตรที่เกิดในประเทศไทย

3.เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว(อสต.)ประจำในชุมชน

4.เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าวให้สามารถช่วยเหลือเด็กในการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข

5.เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพแก่เด็กต่างด้าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ

กลุ่มเป้าหมายพื้นที่ปฏิบัติงานของโครงการ

เด็กเยาวชนต่างด้าวชาวเมียนมาร์พื้นที่ปฏิบัติงานของโครงการคืออำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร

ขอบเขตการดำเนินงานโครงการ

1.ดำเนินการสำรวจข้อมูลเด็กต่างด้าวที่เกิดในไทยที่ไม่มีสูติบัติ และเด็กที่ติดตามครอบครัวที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในไทยที่ไม่ได้เข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพอนามัยอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร 10ชุมชน และ5ชุมชนในอำเภอเมืองจังหวัดตราด

2.นำผลการสำรวจจัดกลุ่มเด็กที่เกิดในไทยที่ไม่มีสูติบัติและเด็กที่ติดตามครอบครัวเข้ามาทำงานที่ไม่มีเอกสารแสดงตนจึงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิใดๆดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีเอกสารที่แสดงตัวตนเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านสุขภพอนามัย

3.จัดตั้งและพัฒนาทักษะโดยการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว(อสต.)ให้เป็นกลไกในการประสานงานและให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงต่างด้าวที่ให้กำเนิดบุตรให้ตระหนักและดำเนินการแจ้งข้อมูลการเกิดเพื่อให้ได้รับสูติบัติเพื่อเป็นเอกสารสิทธิ์เบื้องต้นในการเข้าถึงสิทธิด้านอื่นของเด็กต่อไป

  1. จัดทำเอกสารคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติการแจ้งเกิดของบุตรเพื่อขอเอกสารสถานบุคคลอย่างย่อเผยแพร่แก่แรงงานต่างด้าวที่ตั้งครรภ์และมีบุตรที่ไม่ได้แจ้งเกิด
  2. เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติแก่เด็กต่างด้าวอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

สถานการณ์ปัญหาของเด็กที่สำรวจในชุมชน

สภาพเด็กที่ไม่มีใบสูติบัตร ร้อยละ ผลกระทบของการไม่มีสูติบัตร
เด็กที่ตามพ่อแม่มา 52.88 การไม่ได้รับบริการด้านสุขภาพ/การศึกษา
เด็กเกิดในประเทศไทย 38.22 การไม่ได้รับบริการด้านสุขภาพ
ช่วงอายุแรกเกิด-4ขวบ 38.74 ไม่ได้ฉีดวัคซีนร้อยละ50.83
ช่วงอายุ5-9ปี 33.87 -ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ

-มีปัญหาเมื่อเจ็บป่วยหากต้องไปสถานพยาบาลของรัฐ

-มีปัญหาจากการรีดไถของตำรวจเนื่องจากไม่มีเอกสารแสดงสถานภาพ

AWARD ได้เข้าพบกับผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร(สสจ.)เจรจาในการแสวงหาความร่วมมือในการบริการด้านสุขภาพกับเด็กต่างด้าวที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพมีเอกสารใบสูติบัตร  โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 4 ขวบ

สมาคมฯ สำรวจเด็กพม่าที่ไม่มีใบเกิด

สมาคมฯ พบผู้บริหาร สสจ.สมุทรสาครเพื่อร่วมกันช่วยเหลือเด็กต่างด้าว

burma-2

Donor

Kindermissionswork

The German missionary agency for children